|
![]() | วัดห้วยน้ำดิบ
ข้อมูลทั่วไปของวัด
ชื่อวัด : วัดห้วยน้ำดิบ ประเภทวัด : วัดราษฎร์/พัทธสีมา นิกาย : มหานิกาย ที่ตั้ง : เลขที่ 239 หมู่ที่ 5 บ้านห้วยน้ำดิบ ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน รหัสไปรษณีย์ 51130
ประวัติความแป็นมา เมื่อปี พ.ศ. 2422 ครูบาเจ้าไจยยา ชยวํโส ได้นำพระภิกษุมาสร้างสถานที่ปฏิบัติธรรม ตั้งชื่อว่า สำนักสะหรีไจยารามน้ำดิบ ให้พระภิกษุมาจำพรรษาอยู่ ท่านครูบาได้ใช้ความเป็นเถระที่ชาวบ้านละแวกนั้นให้การนับถือมาส่งข้าวปลาอาหาร ให้พระภิกษุอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ท่านก็เดินทางไปมาระหว่าง วัดบ้านโฮ่งหลวง กับ สำนักสะหรีไจยารามน้ำดิบ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2449 สำนักพระพุทธศาสนาจังหวัดลำพูน ได้จัดตั้งให้เป็นวัดห้วยน้ำดิบ จากชื่อเดิม สำนักวิปัสสนากรรมฐาน ศรีดอนจัย ไจยยารามน้ำดิบห้วยแก้ว การบริหาร และการปกครอง มีเจ้าอาวาสที่ทราบนามคือ 1 พระไชยา พ.ศ. 2449 - 2470 3. พระอินตา อินทวํโส พ.ศ. 2470 - 2481 รูปที่ 3 พระคำ คมฺภีโร พ.ศ. 2481 - 2486 4. พระมหาสุเธียร อคฺคปญฺโญ พ.ศ. 2494 - 2508 พระครูทนง ธมฺมวาที พ.ศ. 2508 ปัจจุบันมีพระปลัดวิชัย เป็นเจ้าอาวาส
ประเพณีสรงน้ำประจำปี กู่บรรจุอนุสาวรีย์ ครูบาเจ้าไจยา ชยวํโส อดีตผู้ก่อตั้งวัดห้วยน้ำดิบ เมื่อปี พศ.2422 ปัจุบัน 142 ปี รำลึกชาตกาล 169 ปี และรำลึกถึง ครูบาเจ้าศรีวิชัย กู่บรรจุอัฐิพระครูพิศาลธรรมนิเทศ อดีตเจ้าอาวาสวัดมหาวัน
11 มกราคม 2564 |
![]() | วัดป่าขันติธรรม
ข้อมูลทั่วไปของวัด
ชื่อวัด : วัดป่าขันติธรรม ประเภทวัด : วัดราษฎร์/พัทธสีมา นิกาย : มหานิกาย ที่ตั้ง : เลขที่ 210 หมู่ 3 ป่าป๋วย ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน รหัสไปรษณีย์ 51130 เนื้อที่ : 31 ไร่ 2 งาน 20 ตารางวา
ประวัติความเป็นมาของวัด วัดป่าขันติธรรม แต่เดิมพื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ชาวบ้านทำไร่ทำสวนกัน เมื่อปี พ.ศ.2534 คุณพ่อเนาว์ เหมือนฟู เจ้าของที่ดินพร้อมด้วยคณะศรัทธาญาติโยมทั้งหลาย ผู้มีเจตนาอันเป็นกุศล ได้น้อมถวายที่ดินจำนวน 6 ไร่แด่คณะสงฆ์ เพื่อสร้างวัด ซึ่งในคณะนั้นมีท่านพระอาจารย์ลัย ทีปชมฺโม (พระครูภาวนานุกิจ) เป็นตัวแทนคณะสงฆ์เป็นผู้รับมอบ และได้เป็นที่พักสงฆ์ โดยสร้างศาลาหลังเล็กๆ มุงด้วยหญ้าคา พร้อมทั้งสร้างกุฏิชั่วคราวขึ้นจำนวนหนึ่ง และได้พัฒนามาเรื่อยๆ ในปีพ.ศ. 2536 ได้ดำเนินการขอสร้างวัด และขณะเดียวกันก็เริ่มสร้างเสนาสนะถาวรวัตถุ ที่จำเป็นในการปฏิบัติธรรม และปฏิบัติศาสนกิจของพระภิกษุ สามาเณร และพุทธศาสนิกชนอย่างต่อเนื่อง และญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาก็ได้ร่วมกันถวายที่ดินเพิ่มเติม
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด เมื่อวันที่ 3 เดือน พ.ศ. 2544 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 6 เดือน พ.ศ. 2550
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดป่าขันติธรรม กิจกรรม การปฏิบัติธรรมประจำปี บำเพ็ญบุญบารมีเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล 5 ธันวามหาราช วันที่เริ่ม 3 ธันวาคม เวลาเริ่ม 09.30 น วันที่สิ้นสุด 7 ธันวาคม เวลาสิ้นสุด 10.00 น. รายละเอียดกิจกรรม รักษาศิล 5-ศิล 8 ปฏิบัติธรรมเจริญจิตภาวนา เดินจงกลมนั่งสมาธิ สวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น ตามกำหนดงานที่ทางวัดกำหนดไว้
ความน่าสนใจภายในวัดป่าขันติธรรม วัดป่าขันติธรรม เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในป่า เป็นวัดที่เน้นให้ปฏิบัติธรรมเป็นหลัก และเหมาะในการปฏิบัติธรรมกรรมฐานมาก เพราะมีความเงียบสงบ สะอาดอากาศก็บริสุทธิ์ เพราะห่างจากหมู่บ้าน 16 ธันวาคม 2563 |
![]() | วัดบ้านล้อง ประเพณีสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุเจดีย์ ข้อมูลทั่วไปของวัด ชื่อวัด : วัดบ้านล้อง ประเภทวัด : วัดราษฎร์/พัทธสีมา นิกาย : มหานิกาย ที่ตั้ง : หมู่ 9 ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน รหัสไปรษณีย์ 51130
ประวัติความเป็นมาของวัด แรกเริ่มบูรณปฏิสังขรณ์วัดบ้านล้อง จากวัดร้างให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษา เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2351 โดยพระครูบาคำแสน สุมโณ เจ้าอาวาสรูปแรก และอดีตเจ้าคณะกิ่งหมวดบ้านโฮ่งในสมัยนั้น สถานที่แห่งนี้ได้ปรากฏหลักฐานชิ้นสำคัญว่าเดิมเป็นวัดที่เคยมีพระสงฆ์จำพรรษานั้น คือ เจดีย์เก่า ซึ่งรกร้างตามกาลเวลาไร้ผู้คนอุปถัมภ์ดูแลมานาน หลังจากได้บูรณะวัดขึ้นมาแล้วตามคำอาราธนาของศรัทธาชาวบ้านและได้ตั้งชื่อวัดตามชื่อหมู่บ้านว่า วัดบ้านล้องพระครูบาคำแสนได้พัฒนาวัดให้เป็นไปตามยุคสมัย ผ่านเจ้าอาวาสมาหลายรูปหลายองค์ปัจจุบันมีพระปลัดวิวัฒน์ วุฑฒิธมฺโม ดำรงตำแหน่องเจ้าอาวาส ประวัติความเป็นมาประเพณีสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุเจดีย์ วันที่ 4-5 เดือน กุมภาพันธ์ของทุกๆปี ทางคณะศรัทธาศิษยานุศิษย์ได้จัดงานบุญประเพณีสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุเจดีย์ ซึ่งเป็นเจดีย์เก่าแก่คู่วัดตลอดมาไม่ปรากฏหลักฐานว่าเริ่มกันเมื่อปีไหนอย่างไร จนกระทั่งพระครูบาคำแสน สุมโณ เจ้าอาวาสรูปที่ 1 พระครูบาแก้ว คุณากโรเจ้าอาวาสรูปที่ 2 จนถึงพระครูประภัศร์ชินวงศ์ ( สมาน ชินวํโส )เจ้าอาวาสรูปที่ 8 มรณภาพไป คณะสงฆ์คณะศรัทธาได้นำอัฐิของอดีตเจ้าอาวาส มาบรรจุไว้ในอนุสาวรีย์(กู่) เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีเป็นกตัญญูกตเวทิตาธรรมแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวที จึงได้จัดงานทำบุญทักษิณานุปาทานขึ้นพร้อม กับงานสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุเจดีย์เก่าแก่คู่วัด รอยพระพุทธบาทจำลองอนุสาวรีย์ (กู่) บรรจุอัฐอดีตเจ้าอาวาสไปด้วยกันเมื่อปี พ.ศ. 2515 ปัจจุบันคณะศรัทธาได้ไปอัญเชิญน้ำศักดิ์สิทธิ์จากสถานที่สำคัญต่างๆ ของจังหวัดลำพูน และอำเภอบ้านโฮ่งมารวมสรงด้วย คือ
ทุกๆวันที่ 4 เดือน กุมภาพันธ์ จะมีขบวนแห่พระพุทธรูปและน้ำศักดิ์สิทธิ์เข้ามายังวัดบ้านล้อง เพื่อร่วมพิธีสมโภชและสรงน้ำถวายในวันที่ 5 เดือน กุมภาพันธ์ เป็นประจำทุกปี จวบจนปัจจุบัน ระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 จนถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชนหมู่ที่ 9 และผู้คนในชุมชนใกล้เคียงมาตลอด แสดงออกให้เห็นถึงความเสียสละและเวลา ทรัพย์สิน แรงกายแรงใจช่วยกันจัดงานขึ้นมา ประสานความสามัคคีกัน พร้อมใจกันปฏิบัติมาทุกๆปี นาย พันธวัฒน์ ไชยคำร้อง งานการศาสนาและวัฒนธรรมและนันทนาการ กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์ ผู้บันทึกข้อมูล/ภาพ 21 ตุลาคม 2563 |
![]() | สถานที่ท่องเที่ยวในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าป่าบ้านโฮ่ง เขตห้ามล่าสัตว์ป่าป่าบ้านโฮ่ง มีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุม 2 จังหวัด 23 มีนาคม 2563 |
![]() | ดอยกานท์ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ บ้านดงห้วยเย็น หมู่ที่ 14 การขึ้นไปชมวิวที่บนดอยกานท์นั้นสามารถขึ้นไปชมได้ 2 วิธี คือ จักรยานยนต์ และ เดินเท้า ระยะเวลาในการขึ้นไปชมวิวบนจุดชมวิว เดินเท้าใช้เวลาประมาณ 5 - 6 ชั่วโมง (ไปและกลับ) รถจักรยานยนต์ใช้เวลาประมาณ 4 - 5 ชั่วโมง (ไปและกลับ) เมื่อขึ้นไปยังจุดชมวิวแล้วท่านจะพบกับเขตอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและพบกับต้นไม้หายากที่ใกล้สูญพันธ์ุ เมื่อไปถึงจุดยอดดอยท่านจะสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของตำบลบ้านโฮ่งในมุม 180 องศา 23 มีนาคม 2563 |
ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 / 1 (5 รายการ)