ยินดีต้อนรับเข้าสู่ องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์ ติดต่อสอบถาม : โทรศัพท์ : 053-980560 อีเมล์ : wiangkarn129@hotmail.com, info@wiangkarn.go.th


สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

1. ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
ปีพุทธศักราช 2539 กระทรวงมหาดไทยประกาศยกฐานะสภาตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโฮ่ง เมื่อวันที่ 19 เดือนมกราคม พุทธศักราช 2539 มีลักษณะทางกายภาพแบ่งเป็นฝั่งซ้าย-ขวา โดยมีพื้นที่ของเทศบาลตำบลบ้านโฮ่งคั่นกลาง

ปีพุทธศักราช 2551 กระทรวงมหาดไทยประกาศเปลี่ยนชื่อขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโฮ่งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน เพื่อความเหมาะสมและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 24 เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช 2551 โดยมีขนาดเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง

แผนที่แสดงที่ตั้งขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์

องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์ ได้รับการอนุมัติให้เข้าใช้ประโยชน์ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าบ้านโฮ่ง เนื้อที่ 10 ไร่ ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2542 จนถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2572 (ตามประกาศกรมป่าไม้ ฉบับที่ 83/2542 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2542) ที่ตั้งสำนักงาน เลขที่ 129 บ้านป่าดำ หมู่ที่ 13 ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน 51130 โทรศัพท์ 0-5398-0560 โทรสาร 0-5398-0560 ต่อ 16 มีเว็ปไซด์ ขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์ ได้แก่ www.wiangkarn.go.th

1.2 ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขาจนถึงราบลุ่ม มีภูเขาล้อมรอบทุกด้าน ซึ่งตรงกับภาษาพื้นเมืองว่า “โฮ่ง” ซึ่งแปลว่าพื้นที่ลุ่ม ที่ต่ำ หรือเป็นหลุมคล้ายก้นกระทะ มีแม่น้ำลี้ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมซึ่งถือว่าเป็นอาชีพหลักของประชาชนในเขตตำบลบ้านโฮ่ง ประกอบกับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์มีดอยกาน ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ทั้งป่าไม้ และสัตว์ป่า เช่น นกยูง สัตว์ป่าอนุรักษ์ใกล้จะสูญพันธุ์ที่กำลังขยายพันธุ์และมีจำนวนมาก

1.3 ลักษณะภูมิอากาศ

ฤดูร้อนช่วงระยะเวลาตั้งแต่ เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิ 28 - 35 c
ฤดูฝนช่วงระยะเวลาตั้งแต่ เดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม อุณหภูมิ 25 - 30 c
ฤดูหนาวช่วงระยะเวลาตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิ 17-25 c

1.4 ลักษณะของดิน


หน่วยแผนที่ดินที่ 16
เป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียว, ร่วนเหนียวปนทราย  ตอนบนมีสีน้ำตาลหรือเทาปนชมพู พบจุดสีเหลืองหรือน้ำตาลปนเหลืองตลอดชั้นดิน  ดินชั้นล่างมักพบก้อนสารเคมีสะสม เหล็กและแมงกานิส  กลุ่มดินนี้เกิดจากวัสดุต้นกำเนิดพวกตะกอนลำน้ำ  พบบริเวณที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ดินลึก ระบายน้ำไม่ค่อยดี มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำถึงปานกลาง สภาพดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นเป็นกลาง ประมาณ 6.0 – 7.5 การใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่เหมาะสำหรับทำนา ปลูกพืชผัก

หน่วยแผนที่ดินที่ 33
เป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินร่วนปนทรายแป้ง สีดินเป็นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลปนแดง บางแห่งในดินล่างลึกๆ  จะมีจุดประสีเทาและสีน้ำตาล  อาจมีแร่ไมก้าหรือก้อนปูนปะปนอยู่ด้วย  เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกตะกอนลำน้ำ พบรินแม่น้ำ มีพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่นลอนลาด ดินลึก      มีการระบายน้ำปานกลางถึงดี มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง  ดินชั้นบนมีความเป็นกรดสูงกว่าดินชั้นกลาง ประมาณ 5.6 – 6.5  การใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่เหมาะสำหรับปลูกพืชผัก ทำนา และสวนลำไย

หน่วยแผนที่ดินที่ 35
เป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย มีสีน้ำตาล สีเหลืองหรือแดง เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดพวดตะกอนลำน้ำหรือเกิดจากการสลายตัวผุพังของหินเนื้อหยาบ พบบริเวณพื้นที่ดอน  ลักษณะเป็นลูกคลื่นจนถึงที่ลาดเชิงเขา เป็นดินลาด มีการระบายน้ำดีมีความสมบูรณ์ต่ำ มีปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง 4.5 – 5.5  ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและสวนผลไม้

หน่วยแผนที่ดินที่ 35  B
เป็นกลุ่มดินที่อยู่ในหน่วย 35  เพียงแต่มีความแตกต่างทางความลาดชัน  ซึ่งดินชุดนี้จะมีความลาดชัน 2 – 5  %  ใช้เป็นที่อยู่อาศัย  และปลูกไม้ผลได้เล็กน้อย

หน่วยแผนที่ดินที่ 38
เป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วน  หรือร่วนปนทรายละเอียด  มีลักษณะการทับถมเป็นชั้น ๆ ของตะกอนลำน้ำในแต่ละช่วงเวลา  สีดินเป็นสีน้ำตาลอ่อน  อาจพบจุดประสีเทาและสีน้ำตาลในชั้นดินล่าง  เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดพวกตะกอนลำน้ำ พบบริเวณสันดินริมน้ำที่มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ  เป็นดินลึกมีการระบายน้ำดี  มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง  ความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.0 –7.0  ใช้เป็นที่อยู่อาศัย  ทำสวนผลไม้  ปลูกพืชผัก  และทำนาบ้างเล็กน้อย

หน่วยแผนที่ดินที่ 59
เป็นกลุ่มดินที่เกิดจากผสมของหน่วยดินหลายชนิด เกิดจากตะกอนลำน้ำพัดมาทับถมกัน   พบบริเวณที่ราบลุ่มหรือบริเวณพื้นที่หมู่เขา มีสภาพพื้นที่ราบเรียบส่วนค่อนข้างราบเรียบ มีการระบายน้ำดี ความอุดมสมบูรณ์ของดินไม่แน่นอนจัดอยู่กับชนิดของวัตถุต้นกำเนิดดินในบริเวณนั้นๆ มัดพบก้อนกรวดและเศษหินปะปนอยู่ในเนื้อดินด้วย  ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย ทำนา ปลูกพืชผัก

หน่วยแผนที่ดินที่ 62
เป็นกลุ่มดินที่อยู่บริเวณเทือกเขามีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์  มีความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดหินต้นกำเนิดดินกลุ่มนี้มีจะพบมีก้อนกินโผล่กระจัดกระจายทั่วไป ไม่เหมาะสมทำการเกษตร อนุรักษ์เป็นป่าธรรมชาติ

หน่วยแผนที่ดินที่ 29B  /35B
เป็นกลุ่มดินที่ประกอบด้วยกลุ่มดินที่อยู่ในหน่วยแผนที่ดินที่ 29 และ 35 มีความลาดชันประมาณ 2 – 5 เปอร์เซ็นต์  พบบริเวณที่ดอนที่เป็นลูกคลื่นจนไปถึงเนินเขา  มีการระบายน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างดี มีความเป็นกรดประมาณ 4.5 –5.5 ใช้สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย และทำสวนผลไม้

หน่วยแผนที่ดินที่ 48
เป็นกลุ่มดินที่มีเนื้อดินบนส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย  ส่วนดินล่างเป็นดินปนเศษหินปนกรวด สีดินเป็นสีน้ำตาล สีเหลือง สีแดง  พบบริเวณพื้นที่ที่เป็นลูกคลื่นลอนชัดเจนถึงเนินเขา เป็นดินตื้น มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ดินเป็นกรดปานกลาง  ประมาณ 5 – 6  ปัญหาการใช้ประโยชน์ดิน ตื้นมีการชะล้างพังทลายของหน้าดิน มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ  ใช้สำหรับปลูกไม้ผล  ได้เล็กน้อย เหมาะสำหรับเป็นป่า

หน่วยแผนที่ดินที่ 48B  /56B
เป็นกลุ่มดินที่ประกอบด้วยดินที่อยู่ในหน่วยแผนที่ดินที่ 48 และ 56  มีความลาดชัน 2 – 5 เปอร์เซอร์  เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินพวกหินตะกอนเนื้อหยาบ  หรือหินอัคนีเนื้อหยาบ  ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์เป็นป่าไม้เบญจพรรณและป่าละเมาะ

หน่วยแผนที่ดินที่ 48 C  /35 C
เป็นกลุ่มดินที่มีองค์ประกอบเหมือนหน่วยแผนที่ดินที่  48B  /56B ซึ่งได้กล่าวแล้ว หน่วยดินนี้มีเปอร์เซนต์ความลาดชันของพื้นที่ 5 – 2 เปอร์เซ็นต์  ส่วนใหญ่ใช้เป็นพื้นที่อยู่อาศัย  และป่าละเมาะ  ใช้ทำการเกษตร  ทำสวน  ทำนา  พืชผัก  ได้บ้างเล็กน้อย

1.5  ลักษณะของแหล่งน้ำ

แหล่งน้ำและปริมาณน้ำฝน

  1. แหล่งน้ำธรรมชาติ มีแม่น้ำที่สำคัญคือแม่น้ำลี้ไหลผ่านจากทางทิศใต้ ผ่านหมู่บ้านห้วยกาน หมู่ที่ 1 ผ่านกึ่งกลางตำบลไปทางทิศเหนือ สิ้นสุดที่บ้านสบล้องหมู่ที่ 11 แม่น้ำลี้ในอดีตมีความลึกและกว้างมาก เกษตรกรสามารถนำน้ำจากแม่น้ำลี้ไปใช้ในการประกอบอาชีพการเกษตรได้ตลอดปี แต่ในปัจจุบันสภาพสิ่งแวดล้อมและสภาพป่าได้ถูกทำลายไปมาก เป็นเหตุให้แม่น้ำลี้แคบลง และมีสภาพตื้นเขินในช่วงฤดูแล้งบางจุดน้ำแห้งขอด แต่อย่างไรก็ตาม ทางราชการได้เล็งเห็นความสำคัญของแม่น้ำลี้ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาแม่น้ำลี้ โดยการขุดลอกลำน้ำบางจุดที่มีสภาพตื้นเขินให้สามารถมีน้ำใช้กับการเกษตรได้ตลอดปี

  2. แหล่งน้ำใต้ดิน ได้แก่บ่อบาดาล ซึ่งมีทั้งบ่อบาดาลที่เป็นสาธารณะ ซึ่งทางส่วนราชการเป็นผู้ดำเนินการให้ และบ่อบาดาลที่เกษตรกรเจาะเพื่อใช้ประโยชน์กับการเกษตร อุปโภคและบริโภคภายในครัวเรือน ซึ่งมีมากเพราะเกษตรกรทำการเกษตรตลอดปี จึงต้องงใช้น้ำจากบ่อบาดาลกันมาก

  3. ฝายกั้นน้ำเนื่องจากมีแม่น้ำลี้ไหลผ่านหลายหมู่บ้านของตำบลบ้านโฮ่ง  โดยความต้องการของเกษตรกร ทางราชการจึงจัดสร้างฝายกั้นลำน้ำลี้ เพื่อผันน้ำสู่ไร่นาของเกษตรกร เพื่อใช้ในการเกษตร จำนวน 2 แห่ง คือ ฝายเหมืองดั้ง และ ฝายปินใจ

แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค

ที่แหล่งน้ำสาธารณะหมู่1หมู่3หมู่5หมู่6หมู่7หมู่9หมู่10หมู่11หมู่12หมู่13หมู่14หมู่15หมู่16หมู่17รวม
1ลำห้วย1122112111111117
2บ่อน้ำตื้น--------------0
3บึง/หนองน้ำ--------------0
4ลำคลอง--------------0
5อ่างเก็บน้ำ2-22------1-119
6เหมือง--1--21111111-10
7สระน้ำ-11---1---2-117
8บ่อบาดาล3372143332332238
9แม่น้ำ--1-----------1

แหล่งน้ำที่ใช้ประโยชน์ในการเกษตร

ที่

ประเภทแหล่งน้ำจำนวน (แห่ง)หมู่บ้านที่ได้รับประโยชน์
1คลองชลประทาน1หมู่ที่ 10,11,12,13,14
2คลองส่งน้ำ1หมู่ที่ 5,16
3บ่อบาดาล บ่อตอก บ่อเจาะ(ใช้การได้)38หมู่ที่ 1,3,5,6,7,9,10,11,12,13,14,15,16,17
4บ่อน้ำตื้น(ใช้การได้)--
5สระน้ำ(ขนาด 100 ตารางวาขึ้นไป)8หมู่ที่ 1,3,5,10,13,14,16
6แม่น้ำ ลำคลอง1หมู่ที่ 5,11,15,16
7ฝาย พนังกั้นน้ำ4หมู่ที่ 5,6,7,16
8อ่างเก็บน้ำ8หมู่ที่ 1,5,6,16,17
9เหมือง14หมู่ที่ 1,3,5,6,7,9,10,11,12,13,14,15,16,17
10ลำห้วย ลำธาร14หมู่ที่ 1,3,5,6,7,9,10,11,12,13,14,15,16,17
11หนอง บึง--
12รางน้ำ ประปาภูเขา4หมู่ที่ 1,3,5,14
13รอน้ำฝนเพียงอย่างเดียวในการทำการเกษตร--

อ่างเก็บน้ำโครงการอันเนื่องมากจากพระราชดำริ
1. โครงการพระราชดำริอ่างเก็บน้ำบ้านห้วยน้ำดิบ ที่ตั้งหมู่ที่ 5 ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ลักษณะโครงการ ทำนบดิน สูง 15 เมตร ยาว 186 เมตร สันทำนบทำด้วยดินกว้าง 8 เมตร
2. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)อ่างเก็บน้ำห้วยแทง ที่ตั้งหมู่ที่ 5 ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ลักษณะโครงการ ทำนบดินฯ
3. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ่างเก็บน้ำห้วยหินฝน ที่ตั้งหมู่ที่ 6 ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ลักษณะโครงการ ทำนบดิน สูง 11.50 เมตร ยาว 214 เมตร สันทำนบดินกว้าง 6 เมตร
4. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(กปร.)อ่างเก็บน้ำห้วยปวง ที่ตั้งหมู่ที่ 17 ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ลักษณะโครงการ ทำนบดินฯ

1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
พื้นที่ป่าจะอยู่บริเวณทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก พื้นที่ป่าของตำบลบ้านโฮ่ง มีประมาณ 39,575 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เบญจพรรณ จะเป็นป่าที่อยู่บนภูเขาซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก และทางทิศตะวันตก มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก้ ไม้สัก , ไม้ประดู่ , ไม้มะค่า , ไม้แดง เป็นต้น

2. ด้านการเมืองการปกครอง

2.1 เขตการปกครอง

มีพื้นที่รับผิดชอบตามประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 71 ตารางกิโลเมตร (เนื้อที่ประมาณ 44,375 ไร่)
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ประกาศ ณ วันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2540 โดยอาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457

ดังต่อไปนี้

ทิศเหนือ        ติดต่อกับ         ตำบลเหล่ายาว อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
ทิศใต้           ติดต่อกับ         ตำบลป่าพลู อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
ทิศตะวันออก   ติดต่อกับ         ตำบลนครเจดีย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ         ตำบลหนองปลาสะวาย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน

หมู่บ้านตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ รวมจำนวน 14 หมู่บ้าน ประกอบด้วย

1. บ้านห้วยกาน หมู่ที่ 1
2. บ้านป่าป๋วย หมู่ที่ 3
3. บ้านห้วยน้ำดิบ หมู่ที่ 5
4. บ้านดอยก้อม หมู่ที่ 6
5. บ้านห้วยห้า หมู่ที่ 7
6. บ้านล้อง หมู่ที่ 9
7. บ้านน้ำเพอะพะ หมู่ที่ 10
8. บ้านสบล้อง หมู่ที่ 11
9. บ้านห้วยแพ่ง หมู่ที่ 12
10. บ้านป่าดำ หมู่ที่ 13
11. บ้านดงห้วยเย็น หมู่ที่ 14
12. บ้านห้วยแทงใต้ หมู่ที่ 15
13. บ้านห้วยปางค่า หมู่ที่ 16
14. บ้านสันตับเต่า หมู่ที่ 17

หมู่บ้านที่พื้นที่คาบเกี่ยวกับเขตเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง จำนวน 5 หมู่บ้าน ประกอบด้วย

1. บ้านห้วยกาน หมู่ที่ 1
2. บ้านป่าป๋วย หมู่ที่ 3
3. บ้านดอยก้อม หมู่ที่ 6
4. บ้านห้วยห้า หมู่ที่ 7
5. บ้านสันตับเต่า หมู่ที่ 17

2.2 การเลือกตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์ ได้มีการแบ่งเขตการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยใช้เขตองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์ เป็นเขตเลือกตั้ง ประกอบด้วย 14 หมู่บ้าน จำนวน 16 หน่วยเลือกตั้ง
การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์ เขตการเลือกตั้งมีทั้งหมด 14 หมู่บ้าน จำนวน 16 หน่วยเลือกตั้ง ให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์ จำนวนหมู่บ้านละ 2 คน รวม 28 คน
ด้านการเมืองการบริหาร

คณะผู้บริหาร ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น จำนวน 1 คน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 2 คน และเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 1 คน ซึ่งมาจากการแต่งตั้ง

สภาองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์ ประกอบด้วย สมาชิกสภาที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น จำนวน 28 คน
ส่วนราชการทั้งหมด 4 ส่วน และบุคลากรในสังกัด ประกอบด้วย

สำนักปลัด จำนวน 13 คน
กองคลัง จำนวน 7 คน
กองช่าง จำนวน 6 คน
กองการศึกษา จำนวน 6 คน
รวมทั้งสิ้น 32 คน

โดยแยกอัตรากำลัง ดังนี้

ข้าราชการส่วนท้องถิ่น จำนวน 20 คน
พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน 10 คน
พนักงานจ้างทั่วไป จำนวน 2 คน
ระดับการศึกษาของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 2 คน
ระดับ ปวส./อนุปริญญา จำนวน 2 คน
ระดับปริญญาตรี จำนวน 20 คน
ระดับปริญญาโท จำนวน 8 คน

3. ประชากร
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร


ตารางแสดงจำนวนประชากรในพื้นที่

ลำดับชื่อหมู่บ้านหมู่ที่

พื้นที่

(ตร.กม.)

จำนวนประชากร (คน)จำนวนครัวเรือน
ชายหญิงรวม
1บ้านห้วยกาน115.362383143
2บ้านป่าป๋วย32.1249318035
3บ้านห้วยน้ำดิบ513.676256141,266478
4บ้านดอยก้อม66.0644549847
5บ้านห้วยห้า76.5441539442
6บ้านล้อง92.25275320595208
7บ้านน้ำเพอะพะ104.11369390759274
8บ้านสบล้อง111.98176196372122
9บ้านห้วยแพ่ง123.67274289563195
10บ้านป่าดำ133.39190201391137
11บ้านดงห้วยเย็น145.39475448923337
12บ้านห้วยแทงใต้152.81217221438157
13บ้านห้วยปางค่า168.22157168325115
14บ้านสันตับเต่า173.7311710922980
รวม 713,0593,1026,1612,270

ข้อมูลสำนักทะเบียนราษฎร์ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2562

3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร
ลำดับที่แบ่งตามช่วงอายุจำนวนหมายเหตุ
10-3 ปี188
24-6 ปี130
37-10 ปี190
411-13 ปี136
514-16 ปี153
617-20 ปี194
721-30 ปี851
831-40 ปี843
941-50 ปี878
1051-60 ปี1,260
1160 ปีขึ้นไป1,371

ข้อมูลสำนักทะเบียนราษฎร์ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2562

สรุปจำนวนผู้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และเบี้ยความพิการขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์ ตามประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์ เรื่องบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562

ลำดับหมู่ที่บ้านจำนวนผู้สูงอายุจำนวนผู้พิการ
ช่วงอายุ (ปี) จำนวน (คน)รวม
( คน )
60-6970-7980-8990 ขึ้นไป( คน )
11ห้วยกาน1111211311-132
23ป่าป๋วย125--174
35ห้วยน้ำดิบ2064718327472
46ดอยก้อม1561-224
57ห้วยห้า1523-207
69ล้อง1203616217470
710น้ำเพอะพะ98281-12756
811สบล้อง51181218230
912ห้วยแพ่ง1043118115448
1013ป่าดำ76209511038
1114ดงห้วยเย็น1335040122491
1215ห้วยแทงใต้563113-10021
1316ห้วยปางค่า42138-6323
1417สันตับเต่า3362-4118
รวม972294142131,421484

ข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2562

4.  สภาพทางสังคม

4.1  การศึกษา
สถานศึกษา/สังกัด

จำนวนครู

/บุคลากร

จำนวนนักเรียน

ผู้อำนวยการ/

หัวหน้าศูนย์ฯ

1. โรงเรียนบ้านห้วยน้ำดิบ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดลำพูน เขต 2

752นางประกายคำ มะโนแก้ว

2. โรงเรียนบ้านห้วยแพ่ง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 12 ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดลำพูน เขต 2

793นายพิเชษฐ์  บุญสุ
3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์352นายคุณากร ต๊ะอุ่น

ข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2562

4.2 การสาธารณสุข
โรงพยาบาล/สังกัด

จำนวน

บุคลากร

ผู้อำนวยการ/

หัวหน้าศูนย์ฯ

1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล บ้านห้วยแพ่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 12 ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข

-พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 2 คน

-เจ้าพนักงานสาธารณสุข จำนวน 1 คน

นางประนอม  วิธี

ข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2562

4.3 อาชญากรรม


- หน่วยบริการประชาชน(ตำรวจ) จำนวน - แห่ง
- ศูนย์ อปพร.องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์ จำนวน 1 แห่ง
- ศูนย์ประสานงาน อปพร.ประจำหมู่บ้าน จำนวน 14 แห่ง
- ชรบ./ตำรวจบ้าน จำนวน 14 แห่ง
- สมาชิก อปพร.องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์ จำนวน 29 คน


5. ระบบการบริการพื้นฐาน

5.1 การคมนาคมขนส่ง
- ถนนในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง จำนวน 3 สาย
สภาพถนน ลาดยาง จำนวน ๓ สาย ระยะทาง ๖ กม.

- ถนนในความรับผิดชอบของกรมโยธาธิการและผังเมือง จำนวน 5 สาย
สภาพถนน ลาดยาง จำนวน 3 สาย ระยะทาง 3 กม.
คอนกรีต จำนวน ๒ สาย ระยะทาง 2 กม.

- ถนนในความรับผิดชอบของท้องถิ่น จำนวน 113 สาย
สภาพถนน คอนกรีต จำนวน 71 สาย ระยะทาง 20.87 กม.
ลาดยาง จำนวน 4 สาย ระยะทาง 2 กม.
ลูกรัง จำนวน 38 สาย ระยะทาง 30.2 กม

5.2 การไฟฟ้า

- ครัวเรือนที่มีฟ้าใช้ ๒,270 หลังคาเรือน

5.3 การประปา
- ครัวเรือนที่ใช้บริการน้ำประปา จำนวน 2,270 หลังคาเรือน
- ประปาหมู่บ้าน จำนวน ๑๔ แห่ง
- น้ำประปาที่ผลิตได้ จำนวน ๑๒,๓๓๘ ลบ.ม./วัน
- ระบบประปาบาดาลขนาดใหญ่ จำนวน 12 แห่ง
- แหล่งน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปา คือ แหล่งน้ำใต้ดินและแหล่งน้ำผิวดิน
- แหล่งน้ำใต้ดิน คือ น้ำบาดาลแหล่งน้ำผิวดิน คือ อ่างเก็บน้ำ ประปาภูเขา

5.4 โทรศัพท์
- ตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน ๑๑ แห่ง
- โทรศัพท์บ้าน จำนวน - หลังคา
- โทรศัพท์มือถือ จำนวน มากกว่า ร้อยละ 99

6. ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
มีพื้นที่ทำนาจำนวน 4,358 ไร่ ทำสวนจำนวน 9,462 ไร่ ปลูกพืชที่สำคัญได้แก่
- ลำไย จำนวน 3,897 ไร่
- มะม่วง จำนวน 4,685 ไร่
- หอมแดง จำนวน 483 ไร่
- กระเทียม จำนวน 189 ไร่
- ผักต่างๆ จำนวน 208 ไร่

6.2 การประมง
- แหล่งน้ำสาธารณะเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ จำนวน ๕ แห่ง พื้นที่ ๑๗ ไร่
- สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเอกชน จำนวน ๔ แห่ง พื้นที่ ๔ ไร่ ๒ งาน

6.3 การปศุสัตว์
- โค จำนวน 468 ตัว
- สุกร จำนวน 635 ตัว
- เป็ด จำนวน 147 ตัว
- ไก่ จำนวน 8,756 ตัว

6.4 การบริการ
- ร้านอาหาร จำนวน 12 แห่ง

6.5 การท่องเที่ยว
(1) ห้วยปูคำ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และสมุนไพรไทย ได้รับรางวัลป่าชุมชน เมื่อ พ.ศ. 2556 ตั้งอยู่บ้านดงห้วยเย็น หมู่ที่ 14 ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
(2) เขตพื้นที่ห้ามล่าสัตว์ป่าป่าบ้านโฮ่ง แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และสัตว์ป่าคุ้มครอง เช่น นกยูงที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าดอยกาน ตั้งอยู่บ้านป่าป๋วย หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน

6.6 อุตสาหกรรม
- อุตสาหกรรมขนาดเล็กผลิตลำไยอบเนื้อสีทอง จำนวน ๑ แห่ง
- ฟาร์มเลี้ยงไก่ จำนวน 1 แห่ง
- โรงงานผลิตน้ำแข็ง จำนวน 1 แห่ง
6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
- สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง/ปั๊มน้ำมันหลอด จำนวน 9 แห่ง
- ตลาดสด จำนวน 1 แห่ง
- ร้านค้าขายของชำ จำนวน 41 แห่ง
- โรงฆ่าสัตว์ จำนวน - แห่ง
- ร้านซ่อมรถ/เครื่องใช้ไฟฟ้า จำนวน 5 แห่ง
6.8 แรงงาน
- ประเภทรับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 45
- ประเภทเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 45
- ประเภทแรงงานฝีมือ(นิคมอุตสาหกรรม) คิดเป็นร้อยละ 10

7. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น(ด้านเกษตรและแหล่งน้ำ)

7.1 ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน

1. ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์
จำนวนประชากรชาย3,059คน
จำนวนประชากรหญิง3,102คน
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด2,270ครัวเรือน
จำนวนพื้นที่ทั้งหมด48,125ไร่
หมู่บ้าน/ชุมชนชายหญิงครัวเรือนพื้นที่ไร่
1. บ้านห้วยกาน238439,600
2. บ้านป่าป๋วย4931351,325
3. บ้านห้วยน้ำดิบ6256144788,543
4. บ้านดอยก้อม4454473,787
5. บ้านห้วยห้า4153424,087
6. บ้านล้อง2753202081,406
7. บ้านน้ำเพอพะ3693902742,568
8. บ้านสบล้อง1761961221,181
9. บ้านห้วยแพ่ง2742891952,293
10. บ้านป่าดำ1902011372,118
11. บ้านดงห้วยเย็น4754483373,368
12. บ้านห้วยแทงใต้2172211571,756
13. บ้านห้วยปาค่า1571681155,137
14. บ้านสันตับเต่า117109802,331

2. ข้อมูลด้านการเกษตร (ทำนา)

ในเขตชลประทานนอกเขตชลประทาน
หมู่บ้าน/ชุมชนจำนวนครัวเรือนต้นทุนเฉลี่ย

ราคาขาย

เฉลี่ย

จำนวนครัวเรือนต้นทุนเฉลี่ย

ราคาขาย

เฉลี่ย

1. บ้านห้วยกาน------
2. บ้านป่าป๋วย------
3. บ้านห้วยน้ำดิบ303,000- -
4. บ้านดอยก้อม----   --
5. บ้านห้วยห้า -----
6. บ้านล้อง---63,000-
7. บ้านน้ำเพอพะ------
8. บ้านสบล้อง------
9. บ้านห้วยแพ่ง23,000----
10. บ้านป่าดำ------
11. บ้านดงห้วยเย็น------
12. บ้านห้วยแทงใต้---503,000-
13. บ้านห้วยปาค่า------
14. บ้านสันตับเต่า------


3. ข้อมูลด้านการเกษตร (ทำสวน)

มะม่วง(ไร่)ลำไย(ไร่)
หมู่บ้าน/ชุมชนจำนวนครัวเรือนต้นทุนเฉลี่ย

ราคาขาย

เฉลี่ย

จำนวนครัวเรือนต้นทุนเฉลี่ย

ราคาขาย

เฉลี่ย

1. บ้านห้วยกาน------
2. บ้านป่าป๋วย152,00025,000105,00040,000
3. บ้านห้วยน้ำดิบ303,000- -
4. บ้านดอยก้อม303,50025,00030                 305,00040,000
5. บ้านห้วยห้า302,00025,000305,50040,000
6. บ้านล้อง1003,00030,0001305,00045,000
7. บ้านน้ำเพอพะ2084,00030,0002085,00045,000
8. บ้านสบล้อง503,00030,000506,50040,000
9. บ้านห้วยแพ่ง534,50030,000245,50045,000
10. บ้านป่าดำ403,50025,000355,00045,000
11. บ้านดงห้วยเย็น804,00035,000455,00045,000
12. บ้านห้วยแทงใต้206,00025,000706,00050,000
13. บ้านห้วยปาค่า505,50030,000405,00045,000
14. บ้านสันตับเต่า305,00035,000206,00050,000


4. ข้อมูลด้านการเกษตร (แหล่งน้ำ)

น้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคน้ำเพื่อการเกษตร
หมู่บ้าน/ชุมชนจำนวนครัวเรือนเพียงพอไม่เพียงพอจำนวนครัวเรือนเพียงพอไม่เพียงพอ
1. บ้านห้วยกาน43 /43 /
2. บ้านป่าป๋วย35 /35 /
3. บ้านห้วยน้ำดิบ478 /478 /
4. บ้านดอยก้อม47 /47 /
5. บ้านห้วยห้า42 /42 /
6. บ้านล้อง208 /208 /
7. บ้านน้ำเพอพะ274 /274 /
8. บ้านสบล้อง122 /122 /
9. บ้านห้วยแพ่ง195 /195 /
10. บ้านป่าดำ137 /137 /
11. บ้านดงห้วยเย็น337 /337 /
12. บ้านห้วยแทงใต้157 /157 /
13. บ้านห้วยปาค่า115 /115 /
14. บ้านสันตับเต่า80 /80 /

8. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

8.1 การนับถือศาสนา
- วัด จำนวน 10 แห่ง
- อาราม จำนวน 1 แห่ง
- สำนักสงฆ์ จำนวน 1 แห่ง

8.2 ประเพณีและงานประจำปี
- ประเพณีแห่แค่หลวง ของอำเภอบ้านโฮ่ง
- ประเพณียี่เป็ง
- ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ
- ประเพณีเกี่ยวกับเทศกาลวันเข้าพรรษาและวันออกพรรษา
- ประเพณีสรงน้ำพระธาตุตามวัดต่างๆในเขตพื้นที่ อบต.เวียงกานต์
- ประเพณีทำพิธีบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนดอยกาน ณ ห้วยปูคำ หมู่ที่ 14 บ้านดงห้วยเย็น

8.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์ มีภาษาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์แบ่งออกเป็นสองลักษณะที่สำคัญคือ
- คำเมือง เป็นภาษาหลักที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
- คำยอง เป็นภาษาท้องถิ่นที่ได้รับวัฒนธรรมมาจากภาษาไทยลื้อ
8.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
สินค้าพื้นเมืองที่ได้รับการนิยมคือผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารจากผลไม้ และพืชผลทางการเกษตร
เช่น ลำไยอบเนื้อสีทอง กระเทียมเจียว หอมแดงเจียว

9. ทรัพยากรธรรมชาติ

9.1 น้ำ

แหล่งน้ำในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์ แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ

1. น้ำผิวดิน ได้แก่แม่น้ำสายหลักคือแม่น้ำลี้ ซึ่งมีต้นกำเนิดอยู่ที่อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน เป็นแม่น้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงอาชีพด้านการเกษตรซึ่งถือว่าเป็นอาชีพหลักของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์ และเป็นแหล่งน้ำที่นำมาเป็นแหล่งน้ำต้นทุนในการทำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาอำเภอบ้านโฮ่ง และแหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างคืออ่างเก็บน้ำซึ่งเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีอยู่ทั้งสิ้น 4 อ่างเก็บน้ำ และอยู่ในระหว่างการสำรวจและขออนุญาตใช้พื้นที่ของกรมชลประทานอีกหนึ่งอ่าง

2. แหล่งน้ำใต้ดิน ถือได้ว่าเป็นแหล่งน้ำหลักอีกหนึ่งแหล่งที่หล่อเลี้ยงอาชีพด้านเกษตรกรรม และแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค

9.2 ป่าไม้
พื้นที่ป่าจะอยู่บริเวณทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก พื้นที่ป่าของตำบลบ้านโฮ่ง มีประมาณ 39,575 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เบญจพรรณ จะเป็นป่าที่อยู่บนภูเขาซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก และทางทิศตะวันตก
มีไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้สัก ไม้เต็งรัง ไม้ประดู่ ไม้มะค่า เป็นต้น

9.3 ภูเขา
จากลักษณะภูมิประเทศที่ภูเขาขนาบทั้งสองข้าง ตรงกลางมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะด้านทิศตะวันออกเป็นภูเขาสูงคนในพื้นที่เรียกว่า “ดอยช้าง” ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับช้าง เป็นแหล่งต้นน้ำให้กับอ่างเก็บได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำดิบและอ่างเก็บน้ำห้วยแทง เป็นแนวแบ่งเขตความรับผิดชอบระหว่างเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์ กับองค์การบริหารส่วนตำบลทาแม่ลอบ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ฝั่งทางทิศตะวันตกเป็นภูเขาสูงคนในพื้นที่เรียนกว่า “ดอยกาน” เป็นเทือกเขาที่ทอดยาวถึงอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีป่าไม้ที่สมบูรณ์และเป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์ป่าสงวนที่ใกล้สูญพันธุ์คือนกยูง ซึ่งกำลังขยายพันธ์ เพิ่มจำนวนขึ้น จนกลายเป็นแหล่งศึกษาและท่องเที่ยวของผู้ที่นิยมท่องเทียวเชิงนิเวศน์ และเป็นแนวแบ่งเขตความรับผิดชอบระหว่างเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลเวียงกานต์ กับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลาสะวาย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
9.4 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
จากการขยายตัวของชุมชน ที่มีประชากรเพิ่มมากขึ้นทำให้ต้องที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน การบุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัย กับที่ดินทำกิน ทำให้ปริมาณพื้นที่ของป่าไม้ลดลง ส่งผลกระทบทำให้เกิดความแห้งแล้ง เกิดความต้องการน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตรมากขึ้น พื้นที่ทำการเกษตรที่ผ่านการใช้สารเคมีมาเป็นเวลานานทำให้คุณภาพของดินเสื่อมสภาพ

จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

number of website visitors
วันนี้
127
คน
สัปดาห์นี้
1973
คน
เดือนนี้
1637
คน
ปีนี้
22729
คน
ทั้งหมด
24882
คน